วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

แบบทดสอบบทที่ 1 (ความปลอดภัยและทักษะในการปฎิบัติการเคมี)

 ข้อสอบ 

เรื่อง ความปลอดภัยและทักษะในการปฎิบัติการเคมี


1. UN Class 3 มีลักษณะความเป็นอันตรายอย่างไร 

ก. แก๊สไวไฟ 

ข. ของเหลวไวไฟ 

ค. ของแข็งไวไฟ 

ง. สารกัดกร่อน


2.เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS) ในปัจจุบันมีกี่ข้อ 

ก. 10 ข้อ 

ข. 12 ข้อ 

ค. 14 ข้อ 

ง. 16 ข้อ 


3.ข้อมูลใดไม่ควรพบในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet, SDS) 

ก. สภาพแวดล้อมหรืออุณหภูมิที่เหมาะสมในการจัดเก็บสารเคมี 

ข. รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี 

ค. ชื่อบริษัทผู้ขายสารเคมี 

ง. ชื่อบริษัทขนส่งสารเคม


4.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง 

ก. ระบบ GHS สื่อสารข้อมูลสารเคมีผ่านทางฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) 

ข. การจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) เป็นหน้าที่ของผู้ใช้สารเคมี 

ค. การจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตสารเคมี 

ง. ผลิตภัณฑ์เคมีบางชนิดอาจแสดงชื่อสารเคมีหรือรหัสประจ าตัวบนฉลากขวด แต่จะแสดงในเอกสาร ข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) 


5. ข้อปฏิบัติในการเก็บรักษาสารเคมี ข้อใดเหมาะสมที่สุด

ก. กรณีที่สารมีอันตรายหลายประเภทให้จัดเก็บตามลำดับตัวอักษร 

ข. ควรแยกเก็บสารเป็นอย่างน้อย 6 กลุ่มหลัก ได้แก่ สารไวไฟ สารกัดกร่อน สารออกซิไดซ์ สารไวต่อน้ า         และอากาศ สารที่ลุกติดไฟได้เอง และสารที่ต้องการเก็บรักษาพิเศษ

 ค. ภาชนะบรรจุสารเคมีต้องติดฉลากให้ชัดเจน เช่น ระบุสูตรทางเคมีเพื่อบ่งชี้แทนการใช้ชื่อสารเคมี 

ง. ถูกทุกข้อ 


6.สารเคมีในข้อใดต่อไปนี้สามารถเก็บรวมกันได้โดยไม่เกิดอันตรายหรือเกิดอันตรายน้อยที่สุด 

ก. กรดอะซิติก / อีเทอร์ / กรดไนตริก 

ข. แอลกอฮอล์ / อีเทอร์ / ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ 

ค. กรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น / สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซต์ความเข้มข้น 1 M / โซเดียมไซยาไนด์ 

ง. แอลกอฮอล์ / อีเทอร์ / คีโตน


7. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตราย 

ก. แบ่งประเภทสารเคมีและวัตถุอันตรายตามการขนส่งเป็น 9 ประเภท ตามการจัดเก็บเป็น 13 ประเภท 

ข. จำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตรายเป็น 2 ประเภท คือ ตามการขนส่งและการจัดเก็บ

 ค. การจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตรายจะพิจารณาสมบัติความระคายเคือง ความเป็นอันตรายต่อ สุขภาพ         และความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

 ง. สามารถศึกษาการจำแนกประเภทสารเคมีและวัตถุอันตรายตามการจัดเก็บได้จาก ประกาศกรม                 โรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550


8.การกระทำในข้อใดเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ตนเองและ/หรือผู้อื่น 

ก. สมาชิกในห้องปฏิบัติการจำนวน 10 คน ช่วยกันเคลื่อนย้ายถังแก๊สเปล่าจ านวน 10 ถัง ออกจาก ห้อง            ปฏิบัติการไปที่ลิฟต์โดยสาร โดยใช้วิธีหมุนก้นถังในแนวตั้ง 

ข. นักศึกษาคนหนึ่งใช้ลิฟต์โดยสารขนย้ายสารเคมีจากชั้น 1 และแสดงป้ายห้ามผู้โดยสารใช้ลิฟต์ 

ค. ห้องปฏิบัติการหนึ่งใช้ตัวทำละลายอินทรีย์เป็นหลัก ได้รับงบประมาณสำหรับปรับปรุงความปลอดภัย         ในห้องปฏิบัติการ จึงนำงบประมาณนั้นไปซื้อตู้เก็บสารไวไฟ 

ง. นักวิทยาศาสตร์อาวุโสในห้องปฏิบัติการมักจะเข้มงวดเรื่องการจัดเก็บสารเคมีในตู้ให้เป็นระเบียบ 


9.การกระทำในข้อใดเหมาะสมที่สุด 

ก. นักศึกษาระดับปริญญาตรีพบว่าภาชนะบรรจุโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการ ชำรุด      จึงเปลี่ยนภาชนะใหม่โดยใส่ในถุงพลาสติกใสเพื่อให้มองเห็นสภาพสารที่อยู่ข้างใน และติดฉลากตาม        ระบบ GHS

ข. นักวิทยาศาสตร์วางกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นและโซเดียมไซยาไนด์ไว้ในตู้ดูดควันส่วนตัว เพราะใช้            สารเคมีสองชนิดนี้ทุกวัน 

ค. ห้องปฏิบัติการ A จัดเก็บสารเคมีเป็นกลุ่ม ได้แก่ สารไวไฟ สารกัดกร่อน สารออกซิไดซ์ สารที่เป็น                อันตรายต่อสุขภาพ 

ง. ผู้ช่วยวิจัยหลังปริญญาเอกใช้ถาดก้นแบนรองรับสารเคมีที่เป็นของเหลวปริมาตร 2.5 ลิตร เพราะไม่มี            เวลาไปซื้อภาชนะรองรับใหม่


10.ข้อใดคือวัตถุประสงค์หลักของการจัดเก็บของเหลวไวไฟในตู้เก็บสารไวไฟ 

ก. เพื่อหาของเหลวไวไฟได้ง่ายขึ้นเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ 

ข. เพื่อไม่ให้ของเหลวไวไฟหกรั่วไหลออกมาภายนอกตู้ 

ค. เพื่อป้องกันสารเคมีจากไฟไหม้ภายนอก

 ง. ถูกทุกข้อ


11.ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย 

ก. ใส่คอนแทคเลนส์เมื่อทำงานกับสารเคมี 

ข. สวมรองเท้าเมื่อทำงานกับสารเคมี

 ค. ถ้าไม่มั่นใจว่าเป็นสารเคมีอันตรายอย่างไร ให้ทดลองทำน้อยๆ ดูก่อน 

ง. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมตลอดเวลา


12.ข้อใดเป็นการปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตรายที่ถูกต้องและปลอดภัย 

ก. สารเคมีที่มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน รุนแรง เช่น กรด ฟอร์มาลีน ควรทำภายในตู้ดูดไอสารเคมี

 ข. สารเคมีที่มีไอระเหย มีกลิ่นฉุน รุนแรง เช่น กรด ฟอร์มาลีน ควรทำในที่โล่ง ระบายอากาศดี

 ค. สารเคมีทุกชนิด ควรทำภายในตู้ดูดไอสารเคมี 

ง. ข้อ ก. และ ค. ถูกต้อง 


13. ของเสียสารเคมีชนิดใดที่สามารถทิ้งลงอ่างน้ำหรือท่อน้ำทิ้งได้โดยตรง 

ก. สารไวไฟสูง

 ข. สารละลายบัฟเฟอร์ 

ค. ตัวทeละลายที่ไม่ละลายน้ำ 

ง. สารไวปฏิกิริยากับน้ำ


14. เมื่อกรด HCl เข้มข้นหกในห้องปฏิบัติการ ควรใช้ neutralizing agent ตัวไหนเหมาะสมที่สุด 

ก. ผงถ่านคาร์บอน 

ข. โซเดียมไบคาร์บอเนต 

ค. น้ำประปา

 ง. ทราย 


15. วิธีใดเหมาะสมที่สุด สำหรับการต้มสารละลายเมทานอล 

ก. ต้มด้วยตะเกียงบุนเสน 

ข. ต้มในอ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ 

ค. ต้มภายในบีกเกอร์ใส่น้ำตั้งบนตะเกียงบุนเสน 

ง. ต้มบน hot plate 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบทดสอบบทที่ 3 (พันธะเคมี)

  ข้อสอบ บทที่ 3 พันธะเคมี 1.สารโคเวเลนต์ชนิดหนึ่งมีสูตร AH3 และรูปร่างโมเลกุลเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ อะตอม A ในสารนี้ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่...